วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

การซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
            คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้    การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์    ขีด จำกัดของการทำงานเป็นอย่างไรระยะเวลาในการทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไรดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น    ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล    หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้
            การทำความสะอาดคอมพิวเตอร์
1.    ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่    ถ้าคุณจะทำความสะอาดเครื่อง    ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที    ก่อนลงมือทำความสะอาด
2.    อย่าใช้ผ้าเปียก    ผ้าชุ่มน้ำ    เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด    ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3.    อย่าใช้สบู่    น้ำยาทำความสะอาดใดๆกับคอมพิวเตอร์    เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง    เกิดความเสียหาย
4.    ไม่ควรฉีดสเปรย์ใดๆไปที่คอมพิวเตอร์    แป้นพิมพ์    และอุปกรณ์ต่างๆ
5.    ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์    และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
6.    ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์    โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด    ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7.    ไม่ควรดื่มน้ำชา    กาแฟ    เครื่องดื่มต่างๆในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8.    ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใดๆขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
          
            สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย

ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เอง    วิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ    ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา
*    พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู๋ในสภาพดี    100    เปอรเซนต์    อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง    60-70    องศาฟาเรนไฮต์
*    ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย    ในขนาดที่ถูกต้อง
*    ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย    อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานาน

ฝุ่นผง
เป็น ที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติด อยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน    ทำให้ความร้อนเกิดขึ้นในระบบไม่สามรถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก    นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสก์กับหัวอ่าน    ทำให้แผ่นดิสก์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
*    ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก    6    เดือน    หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
*    ตัวถัง    หรือ    ชิ้นส่วนภายนอกใช้สเปรย์ทำความสะอาด
*    วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงอ่อนๆปักฝุ่นออก
*    อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ    อาทิเช่น
*    แรงดันเกิน
*    แรงดันตก
*    ทรานเชียนต์
*    ไฟกระเพื่อม
วิธีแก้ไข
*    ในกรณีไฟเกิน    ไฟตก    และทรานเชียนต์    แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า    หรือ    ที่เรียกว่า    Stabilizer
*    ส่วนไฟกระเพื่อม    แก้ไขโดยการลดจำนานครั้งในการปิดเปิดเครื่อง

ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟ ฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่ในสภาวะที่อากาศแห้งจะส่งผลให้การ เป็นฉนวนไฟฟ้าสูงประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมากและหาทางวิ่ง ผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เหล่านนั้นทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้    แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง    ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น

 วิธีแก้ไข

*    ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์    ด้วยการจับต้องโลหะที่ไม่ใช่ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์    ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ    ในระบบคอมพิวเตอร์

ดิสก์ไดร์ฟ


Disk Drive

ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้    หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเนื่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่านหรือเกิดจากความสกปรกของแผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น    หรือคราบไขมันจากมือ    ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก    หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้

การดูแลรักษาควรทำดังนี้
*    เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่นไขมันหรือรอยขูดขีดใดๆ
*    ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
*    หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย

 ดิสก์ไดรฟ์เป็น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบสุ่มแอดเดรสและเขียนใหม่  คำสามารถตีความได้อย่างกว้างขวางรวมถึงไดรฟ์ ออปติคอล และในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ไดรฟ์ ฟลอปปี้ แต่ในการใช้งานที่เป็นที่นิยมจะได้มาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ( HDDs )ดิสก์ไดรฟ์สามารถจะตั้งอยู่ภายในภายในคอมพิวเตอร์หรือตั้งอยู่ในกล่องที่แยกต่างหากที่เป็นภายนอกเข้ากับคอมพิวเตอร์  พวกเขาจะพบใน เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ แล็ปท็อป และ อาร์เรย์เก็บ ตัวอย่างเช่น พวกเขาทำงานโดยการหมุน อย่างรวดเร็วรอบศีรษะหรือหัวซึ่งอ่านและเขียนข้อมูลพวกเขาแตกต่างจากไดรฟ์ สถานะของแข็ง ( SSDs ) ซึ่งไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว และ มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ยังมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นและ โดยทั่วไปมีความจุน้อยกว่าข้อกำหนดในการ ไดรฟ์Platter : ฮาร์ด ไดรฟ์ จะประกอบด้วย ปกติ ของดิสก์หลาย platters ที่เรียกว่า platters เหล่านี้จะถูกวางซ้อนกัน  ด้านบนของแต่ละอื่น ๆ มันเป็น แผ่นเสียง ที่จริงเก็บข้อมูลมันประกอบไปด้วยพื้นผิวเคลือบด้วยสื่อแม่เหล็ก พื้นผิวจะมีการทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุน แข็ง สำหรับสื่อแม่เหล็ก  ชั้นแม่เหล็ก ได้รับการคุ้มครองโดยชั้นบางๆของ คาร์บอนและชั้นหล่อลื่นเพื่อป้องกันความเสียหาย ในกรณีที่หัวมาติดต่อกับพื้นผิวแผ่นเสียง  โดยปกติ ทั้งสองข้างของจานมีสื่อแม่เหล็กที่จะจัดเก็บข้อมูลนับหมื่นของแทร็คต่อนิ้วสามารถวางลงบนจานเหล่านี้

เคส



Case

Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น
Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะเป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายในใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ

ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่าเวลายกไปไหนก็สะดวกป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบเก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกันคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ
บางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็มีมากมาย มันขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก, Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ, Server/Tower Case เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็ก, เคสโลหะผสม, เคสอะลูมิเนียม, เคสพลาสติก, เคสผสม เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีหลายส่วนครับอันแรกก็จะเป็นฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคสต่อมาก็จะเป็นปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่องรวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่แล้วก็ลำโพงเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียงมันยังมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ซีดีรอม, ฟรอบปีดิสก์ไดรฟ์ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และมี Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่นมีช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนมีฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคสมีเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมเคสเสมอสุดท้ายก็พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมีเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้นแล้วการเลือกซื้อเคสจะเลือกอย่างไร การเลือกซื้อเคส คุณต้องเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดของคุณ ถ้าใช้เมนบอร์ด Pentium 4 ก็ควรเลือกเคส ATX สำหรับ Pentium 4 ซึ่งเป็นหลักการเลือกซื้อเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็ให้คุณเลือกเคสที่มีการออกแบบตรงใจคุณ ต่อจากนั้น ก็ต้องดูด้วยขนาดของเมนบอร์ดว่าเป็นแบบใด แต่ส่วนมากแล้วเคสส่วนใหญ่ ก็สามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงจำนวนช่องสำหรับใส่อุปกรณ์ การติดตั้งพอร์ต USB ด้านหน้าและควรเลือกเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี สุดท้ายควรพิจารณาด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเคสรุ่นนี้ เพียงพอกับอุปกรณ์ในเคสหรือไม่ ซึ่งควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายขนาด 250 วัตต์ขึ้นไป ผมคิดว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเคสดีขึ้นครับ

รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิก และก็วัสดุผสมการเลือกซื้อ Case

1. เลือกรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้
ว่ากันว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ดังนั้น การเลือก Case ก็เช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตเคส หลายเจ้าได้ ดีไซน์เคสออกมาในรูปแบบต่าง ๆ สวยงาม น่าสนใจ ดังนั้น ก็เป็นกำไรของผู้บริโภค เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าใน Case ต้องรองรับ เมนบอร์ด แบบ  ATX, ATX Full size หรือ mATX  ซึ่งเราก็สามารถสอบถามผู้ขายว่า รองรับ ATX ซึ่งก็แน่นอนว่าปัจจุบัน เป็นที่นิยมกัน แต่ก็ต้องดูงบประมาณด้วยนะครับ รวมทั้งดูข้ออื่น ๆ ด้านล่างประกอบด้วย

2. มีความสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของคอมพิวเตอร์
 ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น รองรับเมนบอร์ด, Power Supply, HardDisk รวมทั้งต้องเผื่อไว้ เวลาอัพเกรด ฮาร์ดแวร์ เช่น เพิ่ม Harddisk ต้องมีช่องที่สามารถเพิ่มได้  หรือ แม้กระทั่ง ความสะดวกสบายในการใช้งาน USB ในช่องด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่าง คือ การวางของ Power Subbply และ พัดลมระบายความร้อน ที่ติดมากับเคส ก็ ดูภาพรวมไม่เกะกะ ยุ่งเหยิง จนเกินไป

3. ระบายความร้อนได้ดี
 ต้องเลือก Case ที่มีพัดลมระบายความร้อนด้านข้างหรือด้านบนก็จะเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามให้ติดตั้งเพียงพอเหมาะในการใช้งานเท่านั้น หากใส่พัดลมมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอ เกิดเสียงดังรบกวนจนน่ารำคาญ อีกทั้งทำให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามอุปกรณ์ต่างๆ มากไปอีกด้วย

4. มีความปลอดภัยในการติดตั้ง
เคสที่ดีต้องมีการเก็บรายละเอียดงานได้พอสมควร ไม่มีเหลี่ยมคมให้บาดมือได้ นอกจากนี้เคสบางรุ่นยังบุแถบยางในจุดที่ต้องสอดมือเข้าไปติดตั้งอย่างเช่น เพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วยป้องกันการถูกบาดหรือขูดกับผิวหนังได้ดีทีเดียว ไฟไม่รั่ว มีสายดินลง Case เพื่อไม่ให้ไฟ ดูด หลายท่านอาจเคยโดนไฟดูดที่ Case ดังนั้น เคสที่ดีต้องมีความปลอดภัยส่วนนี้ด้วย

5. ความสะดวกในการติดตั้งและจัดวางอุปกรณ์
Case ที่ดี ต้องมีความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะบางครั้งจะต้องมีการถอดเข้าถอดออก บางคนไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แต่ต้องการติดตั้ง Harddisk เองก็สามารถเปิด อินเตอร์เน็ตแล้วทำตามได้ง่าย ๆ โดยถ้าหากบางคนเลือกซื้อ Case ที่ประกอบอุปกรณ์ยาก แล้วบางที เครื่องเสีย ต้องถอดน๊อตเยอะแยะวุ่นวายไปหมด ลักษณะที่ดึคือ สามารถ เปิดฝาด้านเดียว แล้วสามารถมองและตรวจสอบอุปกรณ์ ทุกตัว เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการ ถอดประกอบแต่ในส่วนของสายไฟ ต้องเป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่จะเก็บได้สวยงามและ ละเอียดแค่ไหน ซึ่งทุกวันนี้ เคสบางตัว ในการเพิ่ม Harddisk สามารถเปิดCaseด้านเดียวแล้วใส่ Harddisk เข้าไปในช่อง น๊อตยึดก็จะมีแค่ตัวเดียว อีกด้านหนึ่ง ก็จะล็อกอัตโนมัติ ถือว่าสะดวกสบายมากมายเลยครับ

6. ราคา
 มาถึงเรื่องสำคัญแล้วครับ ราคา ที่ผ่านมาทั้งหมด ถ้าตรง สเปก แต่ราคาสูงเกินไปก็เปลืองครับ ลองมองหาเคสอื่นได้เลย แต่ถ้าถูกเกินไป ก็เสียงต่อ ความเสียหายของอุปกรณ์ ได้ ก็เอาเป็นว่า ราคา ที่พอรับได้กลาง ๆ แล้วกันนะครับ สำหรับผมอยู่ระหว่าง 1200 - 2500 ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อน ความทน ความเป็นระเบียบ ใจจริงก็อยากแนะนำ ยี่ห้อให้ด้วย แต่ว่าเดียวจะหาว่าโฆษณาให้เขา ดังนั้น ก็เลือกตาม หัวข้อทั้ง 6 ข้อ ถ้าตรงก็ ซึ้อได้เลยครับ

วิธีการดูแลรักษา
           การดูแลรักษา case นั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง  ปัญหาก็คือการเกิดไฟรั่วตาม case ที่เป็นรอยต่างๆ เมื่อไปโดนจะรู้สึกจิ๊ดๆ แต่ไม่เป็นอันตรายมากนักเพราะ กระแสไฟฟ้าหลังจากที่ ผ่าน power supply มาแล้วจะเหลือไฟประมาณ 8 v. ครับจะไม่เป็นอันตราย แต่กันไว้ดีกว่าแก้ครับ คือหาสติกเกอร์ มาแปะไว้บริเวณรอย
           หลังจากใช้เครื่องเสร็จควรใช้ผ้าคลุม Case คลุมเอาไว้ ( อันนี้ตอนมีเครื่องใหม่ๆทำทุกวันครับ ) เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปในเครื่อง

หากจะทำความสะอาดให้ถอดปลักออกก่อน และให้นำผ้าแห้ง( พรม water นิดๆก็ได้ครับ) มาเช็ดปริเวณที่ต้องการ (ห้ามใช้ ทินเนอร์เด็ดขาด)

ซีดีรอมไดร์ฟ


CD-Rom Drive

CD-ROM Drive คือเครื่องขับแผ่น CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้
CD-ROM Drive สามารถเล่นแผ่นได้ต่อไปนี้           
แผ่น CD-ROM ซึ่งปัจจุบัน แผ่น CD-ROM จำแนกเป็น 2 ประเภท
       แผ่น CD-ROM ที่บรรจุโปรแกรมประเภทสารานุกรม หรือ บทเรียนสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ในการเล่นครั้งแรก ผู้ใช้อาจจำเป็นติดตั้งโปรแกรมก่อน แต่ในการเล่นโปรแกรมครั้งต่อไปผู้ใช้เพียงใส่ CD-ROM เข้าไปใน Drive และเพียง Start Programme จาก Desktop เท่านั้น           แผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งซอฟต์แวร์ เกือบทั้งหมดจะใช้สื่อ CD-ROM แทนที่จะใช้ Floppy Disk(S) ดังเช่นในอดีต           แผ่น Audio-CD หรือ แผ่น CD เพลง ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป แต่ละเพลงบรรจุด้วย File ที่มีส่วนขยาย WAV โดยปกติแผ่นประเภทนี้ควรเล่นกับเครื่องเล่น CD ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องเสียง การจะเล่นกับ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card และลำโพง           แผ่น Video-CD ได้แก่แผ่นที่สามารถ เล่นภาพยนต์เรื่องยาว Concert หรือ Karaoke โดยปกติแผ่นประเภทนี้ ควรเล่นกับเครื่องเล่น Video-CD ซึ่งจะส่งสัญญาณภาพเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป แต่หากจะเล่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card ลำโพง และซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านแผ่น Video-CD ได้ อนึ่ง Windows Media Player ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows ก็สามารถอ่าน File ในแผ่น Video_CD ได้ แต่การเล่นจะไม่ค่อยสะดวกนัก             แผ่น MP3 ที่บรรจุเพลง MP3 ซึ่งมีการผลิตใช้กันในหมู่ญาติมิตร หรือเผยแพร่กันอย่าง "ไม่เป็นทางการ" นั้น เป็นการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลเสียง MP3 File จึงมีขนาดเล็กกว่า WAV File ประมาณ 12 ถึง 14 เท่า การบีบอัดใช้หลักการตัดเสียงที่อยู่นอกพิสัยการได้ยินของมนุษย์ และเสียงที่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของเพลงถูกกลบด้วยเสียงอื่น การที่ File มีขนาดเล็กลงมากเช่นนี้ ทำให้สามารถบรรจุเพลงได้มากถึง 150 เพลงหรือมากกว่าในแผ่น CD เพียงแผ่นเดียว แรกทีเดียวเพลงประเภทนี้สามารถฟังได้จากเรื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยใช้ซอฟต์แวร์เช่น Winamp แต่ปัจจุบันเครื่องเล่นแผ่น Video-CD หรือแม้แต่เครื่องเสียงในรถยนต์บางรุ่น ได้รวมความสามารถในการเล่น File MP3 ไว้ในตัวด้วย           คุณสมบัติของ CD-ROM Drive ที่ต้องพิจารณาคือความเร็ว เมื่อ CD-ROM Drive ออกใหม่เคยมีความเร็ว Double-Speed หรือ 2x ต่อจากนั้นความเร็วก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน CD-ROM Drive ที่มีจำหน่ายทั่วไปมีความสูงสุดที่ 60x การพิจารณาความเร็วของ CD-ROM Drive นั้น ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่           ความเร็วที่ระบุนั้นเป็นความเร็วสูงสุด ภายใต้สถาวะแวดล้อมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เอื้ออำนวยที่สุด ซึ่งระหว่างอายุการใช้งานอาจไม่ได้บรรลุดวามเร็วดังกล่าวเลยก็ได้ เปรียบได้กับความเร็วของรถยนต์สูงสุดต่อชั่งโมงที่ปรากฏที่มาตรวัดความเร็วของรถ (เช่น 240 กม.ต่อ ชั่วโมง) ซึ่งมีรถน้อยคันที่จะวิ่งได้เร็วเท่านี้           ความเร็วของ CD-ROM Drive นั้นให้ประโยชน์เฉพาะแผ่น CD-ROM ประเภทที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ และ ประเภทสารานุกรมหรือบทเรียนเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการเล่น Audio-CD และ Video-CD ซึ่งใช้ความเร็วแค่ 2x เท่านั้นเอง CD-Writer
          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายบางรุ่นได้ติดตั้ง CD-Writer แทนที่จะติดตั้ง CD-ROM Drive CD-Writer นี้มีลักษณะกายภาพภายนอกและคุณสมบัติเหมือน CD-ROM Drive ทุกประการ แต่ผนวกความสามารถในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD รวมทั้งทำสำเนาแผ่น CD ด้วย แผ่นที่จะนำมาเพื่อบันทึกหรือทำสำเนาจะต้องเป็นแผ่นที่เรียกว่า CD-R (บันทึกได้ครั้งเดียว หากผิดพลาดแผ่นจะเสียหายเลย) หรือ แผ่น CD-RW (บันทึกและปันทึกซ้ำได้ โดยผู้ผลิตแผ่นประเภทนี้อ้างว่าจะบันทึกซ้ำได้ประมาณ 1,000 ครั้ง) คุณสมบัติที่ผู้ซื้อ CD-Writer ต้องพิจารณาคือความเร็ว ซึ่งใช้วิธีการระบุเช่นเดียวกับ CD-ROM Drive แต่ในที่นี้จะเพิ่มตัวเลขจาก 1 เป็น 3 ตัว เช่น 20/10/40 หมายความว่า CD-Writer ตัวนี้บันทึกแผ่น CD-R สูงสุดที่ 20x บันทึกแผ่น CD-RW สูงสุดที่ 10x และอ่านแผ่นทุกประเภทสูงสุดที่ 40x

 วิธีการบำรุงรักษา   CD  Rom

1. ควรยึดเครื่องอ่านแผ่นซีดีให้มั่นคงกับโครงเครื่องและควรติดตั้งในแนวนอน ( แนวระนาบหรือ ขนานพื้น 180 องศา ) หรือ แนวดิ่ง ( ตั้งฉากกับพื้น 90 องศา สำหรับรุ่นที่ติดตั้งในแนวดิ่งได้ ) เท่านั้น 

2. ตรวจสอบการต่อสายไฟสายสัญญานและสาย Audio ให้เรียบร้อยมั่นคงและถูกต้องตามตำแหน่ง

3. หลีกเลี่ยงการนำแผ่นซีดีหรือDVD ที่ไม่สมบูรณ์มาใช้งานในเครื่องอ่านแผ่นซีดี

4. การนำแผ่นซีดีหรือ DVD ใส่เข้าในเครื่องอ่านควรใส่ด้วยความระมัดระวังให้แผ่นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการชำรุดของแผ่น เนื่องจากถูก ครูด หรือ บีบกด จากถาดแผ่นซีดีเนื่องจากแผ่นที่ใส่นั้น เลื่อน หรือ เกย ออกจากตำแหน่งที่ถูกต้อง

5. ระมัดระวังการใช้แผ่นล้างหัวอ่าน/เขียน ที่ไม่ได้คุณภาพเนื่องจากขนแปรงทำความสะอาดหัวอ่านไม่ได้คุณภาพ ซึ่งมักจะทำให้เกิดรอยบนเลนส์ของหัวอ่าน หรือ ละลายติดบนเลนส์ของหัวเขียนทำให้ชุดหัวอ่าน/เขียน ชำรุดถาวร

6. ไม่ควรปล่อยแผ่นซีดีหรือ DVD ทิ้งไว้ในเครื่องอ่านโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะ ในระหว่างการเคลื่อนย้ายเครื่องฯ

7. ไม่ควรนำวัสดุอื่นใด ใส่เข้าไปในเครื่องอ่านแผ่นซีดี

8. ไม่ควรนำแผ่นซีดี หรือ DVD ใส่เข้าไป เกิน 1 แผ่น


9. หากเครื่องอ่านซีดี หรือ DVD ไม่สามารถเปิดออกได้โดยปกติ ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญการ

เพาเวอร์ซัพพลาย


Power Supply
                    
แหล่งจ่ายไฟ (อังกฤษ: power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลด ไฟฟ้า. เป็นคำที่ใช้กันมากที่สุด ในการแปลงพลังงานไฟฟ้าจากรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แม้ว่ามันจะยังอาจหมายถึง อุปกรณ์ที่แปลงพลังงานรูปแบบหนึ่ง (เช่นพลังงานกล, พลังงานเคมี, พลังงานแสงอาทิตย์) ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า. แหล่งจ่ายไฟแบบควบคุมได้(อังกฤษ: regulated power supply)สามารถควบคุม แรงดันหรือกระแสเอาต์พุตให้มีค่าที่คงที่แน่นอน แม้ว่าโหลดจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่พลังงานที่อินพุทก็ตาม
แหล่งจ่ายไฟทุกตัวต้องได้รับพลังงานจากแหล่งพลังงานภายนอกเพื่อจ่ายให้โหลดและการบริโภคพลังงานของตัวมันเองในขณะที่ปฏิบัติงาน แหล่งพลังงานภายนอกจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ
ระบบสายส่งพลังงานไฟฟ้า อาจเป็นกระแสสลับ หรือกระแสตรงที่ได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้า กระแสสลับให้เป็นกระแสตรง
อุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน เช่นแบตเตอรี่ และ เซลล์เชื้อเพลิง
ระบบเครื่องกลไฟฟ้า เช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานกล เช่น Generator และ Alternator
พลังงานแสงอาทิตย์
แหล่งจ่ายไฟอาจถูกนำมาใช้แบบแยกส่วน หรือเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของโหลด เช่นแหล่งจ่ายไฟในคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปสำหรับผู้บริโภค
คุณลักษณะเฉพาะที่ระบุไว้บนแหล่งจ่ายไฟ ได้แก่
ปริมาณของแรงดันและกระแสที่จะสามารถจ่ายให้กับโหลดได้
วิธีการที่จะทำให้แรงดันหรือกระแสเอาต์พุตมีเสถียรภาพ ภายใต้เงื่อนไขที่กระแสไฟฟ้าอินพุทและสภาวะของโหลดที่เปลี่ยนแปลง
ระยะเวลาการใช้งานได้นานเท่าใดโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงหรือหรือชาร์จประจุใหม่ (เฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แหล่งพลังงานแบบพกพา)

วิธีดูแลรักษา    Power Supply

*    เป่าลมทำความสะอาดบ้าง และตรวจดูว่าเราได้ใช้งานมันเกินความสามารถหรือเปล่า

แรม


RAM


             แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม  (อังกฤษ: random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว)

ปัญหาของแรมที่พบบ่อย ๆ และการแก้ไข
    มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น

2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา

3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว

4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมนบอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่

5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์
ผิดผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว

เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้

1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่

2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่

ใช้แล้วเครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้

1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้

2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด

3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้

4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี

5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะ

ขนาดของ RAM เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้

1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดดูก่อนว่าสล็อตใดเสียบ RAM ที่มีขนาดสูงสุดได้เท่าไร เช่น เมนบอร์ดบางรุ่น ช่องเสียบ RAM แถวที่ 1ใส่ RAM ได้สูงสุดไม่เกินแถวละ128 MB ถ้าเรานำ RAM ขนาด แถวละ 256 MB มาใส่เครื่องจะไม่สามารถรับได้หรือมองเห็นแค่เพียง 128 MB เท่านั้น

2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย

3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB

4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมา ข้างต้น

RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ

1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz

2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto

3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด

 วิธีการดูแลรักษาแรม
       เพียงเราถอดแรมออกมาเท่านั้นเอง  แล้วหายางลบมาถูๆ  ตรงบริเวณหน้าสัมผัสที่เป็นสีทองเพื่อเป็นการลบเอาคราบฝุ่นต่างๆ  ที่เกาะอยู่ออกไปได้โดยง่ายเลยล่ะ  ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็นำแปลงมาปัดฝุ่นตามแรมออกไป

ฮาร์ดดิสก์


Harddisk


ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk drive) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง  โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ์

 การบำรุงรักษา    Hard Disk
       ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง    ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายดังต่อไปนี้
*    การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า    3    นิ้ว    เพื่อการระบายความร้อน  
*    ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้

*    ควรมีการตรวจสถานภาพของ    Hard Disk    ด้วยโปรแกรม    Utility    ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ    100%    หรือมีส่วนใดของ    Hard Disk    ที่ใช้งานไม่ได้

แป้นพิมพ์


KeyBoard


คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวล
ผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก

 การบำรุงรักษาคีย์บอร์ด
        คีย์บอร์ดนั้นเป็นแหล่งเพราะเชื้อโรคไม่แพ้เมาส์เช่นกัน    เพราะว่าเราจับอะไรแล้วไม่ล้างมือก็มาพิมพ์มัน    เวลาเรารับประทานขนมก็ตกลงไปในร่องคีย์บอร์ด    มดก็มาชึ้นเป็นแหล่งสะสมต่างๆ
วิธีทำความสะอาด
*     นำคีย์บอร์ดคว่ำลงแล้วเคาะด้านหลังเพื่อที่จะให้เศษฝุ่นนั้นออกมา     หรือนำเครื่องเป่าลมมาเป่าก็ได้

*     แกะปุ่มทีละปุ่มเอาออกมาทำความสะอาดด้วยการนำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็ดแต่ล่ะปุ่ม