วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำงานของ ซีดีรอมไดร์ฟ


CD-ROM Drive

CD-ROM Drive คือเครื่องขับแผ่น CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้
CD-ROM Drive สามารถเล่นแผ่นได้ต่อไปนี้
         แผ่น CD-ROM ซึ่งปัจจุบัน แผ่น CD-ROM จำแนกเป็น 2 ประเภท
         แผ่น CD-ROM ที่บรรจุโปรแกรมประเภทสารานุกรม หรือ บทเรียนสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ในการเล่นครั้งแรก ผู้ใช้อาจจำเป็นติดตั้งโปรแกรมก่อน แต่ในการเล่นโปรแกรมครั้งต่อไปผู้ใช้เพียงใส่ CD-ROM เข้าไปใน Drive และเพียง Start Programme จาก Desktop เท่านั้น
         แผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งซอฟต์แวร์ เกือบทั้งหมดจะใช้สื่อ CD-ROM แทนที่จะใช้ Floppy Disk(S) ดังเช่นในอดีต
         แผ่น Audio-CD หรือ แผ่น CD เพลง ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป แต่ละเพลงบรรจุด้วย File ที่มีส่วนขยาย WAV โดยปกติแผ่นประเภทนี้ควรเล่นกับเครื่องเล่น CD ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องเสียง การจะเล่นกับ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card และลำโพง
         แผ่น Video-CD ได้แก่แผ่นที่สามารถ เล่นภาพยนต์เรื่องยาว Concert หรือ Karaoke โดยปกติแผ่นประเภทนี้ ควรเล่นกับเครื่องเล่น Video-CD ซึ่งจะส่งสัญญาณภาพเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป แต่หากจะเล่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card ลำโพง และซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านแผ่น Video-CD ได้ อนึ่ง Windows Media Player ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows ก็สามารถอ่าน File ในแผ่น Video_CD ได้ แต่การเล่นจะไม่ค่อยสะดวกนัก
         แผ่น MP3 ที่บรรจุเพลง MP3 ซึ่งมีการผลิตใช้กันในหมู่ญาติมิตร หรือเผยแพร่กันอย่าง "ไม่เป็นทางการ" นั้น เป็นการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลเสียง MP3 File จึงมีขนาดเล็กกว่า WAV File ประมาณ 12 ถึง 14 เท่า การบีบอัดใช้หลักการตัดเสียงที่อยู่นอกพิสัยการได้ยินของมนุษย์ และเสียงที่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของเพลงถูกกลบด้วยเสียงอื่น การที่ File มีขนาดเล็กลงมากเช่นนี้ ทำให้สามารถบรรจุเพลงได้มากถึง 150 เพลงหรือมากกว่าในแผ่น CD เพียงแผ่นเดียว แรกทีเดียวเพลงประเภทนี้สามารถฟังได้จากเรื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยใช้ซอฟต์แวร์เช่น Winamp แต่ปัจจุบันเครื่องเล่นแผ่น Video-CD หรือแม้แต่เครื่องเสียงในรถยนต์บางรุ่น ได้รวมความสามารถในการเล่น File MP3 ไว้ในตัวด้วย
         คุณสมบัติของ CD-ROM Drive ที่ต้องพิจารณาคือความเร็ว เมื่อ CD-ROM Drive ออกใหม่เคยมีความเร็ว Double-Speed หรือ 2x ต่อจากนั้นความเร็วก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน CD-ROM Drive ที่มีจำหน่ายทั่วไปมีความสูงสุดที่ 60x การพิจารณาความเร็วของ CD-ROM Drive นั้น ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่
         ความเร็วที่ระบุนั้นเป็นความเร็วสูงสุด ภายใต้สถาวะแวดล้อมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เอื้ออำนวยที่สุด ซึ่งระหว่างอายุการใช้งานอาจไม่ได้บรรลุดวามเร็วดังกล่าวเลยก็ได้ เปรียบได้กับความเร็วของรถยนต์สูงสุดต่อชั่งโมงที่ปรากฏที่มาตรวัดความเร็ว ของรถ (เช่น 240 กม.ต่อ ชั่วโมง) ซึ่งมีรถน้อยคันที่จะวิ่งได้เร็วเท่านี้
         ความเร็วของ CD-ROM Drive นั้นให้ประโยชน์เฉพาะแผ่น CD-ROM ประเภทที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ และ ประเภทสารานุกรมหรือบทเรียนเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการเล่น Audio-CD และ Video-CD ซึ่งใช้ความเร็วแค่ 2x เท่านั้นเอง
CD-Writer
         ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายบางรุ่นได้ติดตั้ง CD-Writer แทนที่จะติดตั้ง CD-ROM Drive CD-Writer นี้มีลักษณะกายภาพภายนอกและคุณสมบัติเหมือน CD-ROM Drive ทุกประการ แต่ผนวกความสามารถในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD รวมทั้งทำสำเนาแผ่น CD ด้วย แผ่นที่จะนำมาเพื่อบันทึกหรือทำสำเนาจะต้องเป็นแผ่นที่เรียกว่า CD-R (บันทึกได้ครั้งเดียว หากผิดพลาดแผ่นจะเสียหายเลย) หรือ แผ่น CD-RW (บันทึกและปันทึกซ้ำได้ โดยผู้ผลิตแผ่นประเภทนี้อ้างว่าจะบันทึกซ้ำได้ประมาณ 1,000 ครั้ง) คุณสมบัติที่ผู้ซื้อ CD-Writer ต้องพิจารณาคือความเร็ว ซึ่งใช้วิธีการระบุเช่นเดียวกับ CD-ROM Drive แต่ในที่นี้จะเพิ่มตัวเลขจาก 1 เป็น 3 ตัว เช่น 20/10/40 หมายความว่า CD-Writer ตัวนี้บันทึกแผ่น CD-R สูงสุดที่ 20x บันทึกแผ่น CD-RW สูงสุดที่ 10x และอ่านแผ่นทุกประเภทสูงสุดที่ 40x
         CD-ROM Drive : ทำหน้าที่เป็นตัวอ่านข้อมูลที่บันทึกในแผ่นซีดีรูปแบบต่าง ๆ โดย ภายในจะมีจานหมุน และหัวอ่านซีดี ที่เป็นตัวส่งแสงเลเซอร์ไปตกกระทบกับข้อมูลในแผ่นซีดี ออกมาตีความเป็นรหัสเลขฐานสอง ในคอมพิวเตอร์
         ภายในของเครื่องเล่นซีดี
หน้าที่ หลักของเครื่องอ่านแผ่นซีดี  คือโฟกัสแสงเลเซอร์  ลงไปที่ขดวงของข้อมูล   และสะท้อนออกมา   ถ้าสะท้อนถูกเซนเซอร์  ซึ่งเป็นตัวตรวจจับแสงชนิดหนึ่ง   มันจะอ่านสัญญาณและแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ถ้าขณะที่ฉายไปเจอกับหลุม  เซนเซอร์จะตรวจจับสัญญาณแสงไม่ได้ (สัญญาณแต่ถ้าไม่เจอหลุม  เซนเซอร์จะตรวจจับสัญญาณได้  (สัญญาณ  1 )  ระบบ กลไกการอ่านแทรกของเครื่องอ่านแผ่นซีดี  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด  เพราะมันจะต้องคอยควบคุม และเลื่อนหัวอ่านเลเฃอร์ออกจากแนวรัศมีของแผ่น    ขณะที่หัวเลเซอร์เลื่อนออกจากจุดศูนย์กลาง  วงขดของข้อมูลจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น   ตามสมการที่ว่า  ความเร็วในแนวสัมผัสกับแผ่นจะแปรผันตามระยะห่างในแนวรัศมีของหัวอ่านที่ เลื่อนออก  นั่นหมายความว่า  ที่ขอบของแผ่นซีดีจะมีความเร็วมากสุด     ดังนั้นระบบการอ่านแทรกจะต้องลดความเร็วของมอเตอร์ลง   เพื่อให้ความเร็วของแผ่นซีดีลดลง  และข้อมูลที่ผ่านเข้าหัวอ่านมีอัตราคงที่ จะได้อ่านไม่ผิด
ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เขาจะใช้จานแม่เหล็กที่มีจำนวน 2 หรือ 6 หรือ 12 จานมาติดตั้งซ้อนกันตามแนวดิ่ง รวมกันเป็นหนึ่งหน่วย เรียกว่า ดิสก์แพ็ค (disk pack) ซึ่งเราสามารถยกดิสก์แพ็คเข้าออกจากเครื่องได้ การทำเช่นนี้ ทำให้จานแม่เหล็กสามารถทำหน้าที่คล้ายแถบแม่เหล็ก
ส่วนประกอบของ FDD ได้แก่
Read/Write Heads: ติดตั้งด้านในของไดร์ฟทั้งสองด้าน ทำหน้าที่อ่านเขียนข้อมูลบนแผ่นดิสก์
Stepper Motor: มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ ควบคุมการเลื่อนตำแหน่งของหัวอ่านเขียน (Read/Write Head) ให้ทำอย่างอย่างตรงตำแหน่ง แม่นยำ
Drive Motor: มอเตอร์ขนาดเล็ก ที่อยู่ติดอยู่แกนกลางของดิสก์ไดร์ฟ มีความเร็วในการหมุน 300 หรือ 360 รอบต่อนาที (rotations per minute: RPM)
Mechanical Frame: ระบบเปิดแผงกั้นการอ่านเขียนของแผ่นดิสก์ เพื่อให้หัวอ่านเขียนสัมผัสกับผิวสื่อแม่เหล็กภายในแผ่นดิสก์
Circuit Board: แผงอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมการทำงานของดิสก์ไดร์ฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น