CD-Rom Drive
CD-ROM Drive คือเครื่องขับแผ่น
CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก
CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป
พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้
CD-ROM Drive สามารถเล่นแผ่นได้ต่อไปนี้
แผ่น CD-ROM
ซึ่งปัจจุบัน
แผ่น CD-ROM จำแนกเป็น 2 ประเภท
แผ่น CD-ROM ที่บรรจุโปรแกรมประเภทสารานุกรม หรือ
บทเรียนสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ในการเล่นครั้งแรก ผู้ใช้อาจจำเป็นติดตั้งโปรแกรมก่อน
แต่ในการเล่นโปรแกรมครั้งต่อไปผู้ใช้เพียงใส่ CD-ROM เข้าไปใน Drive และเพียง Start Programme
จาก Desktop เท่านั้น แผ่น CD-ROM
ที่บรรจุซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งซอฟต์แวร์ เกือบทั้งหมดจะใช้สื่อ CD-ROM แทนที่จะใช้ Floppy
Disk(S) ดังเช่นในอดีต แผ่น Audio-CD หรือ แผ่น CD เพลง
ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป แต่ละเพลงบรรจุด้วย File
ที่มีส่วนขยาย WAV โดยปกติแผ่นประเภทนี้ควรเล่นกับเครื่องเล่น CD ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องเสียง การจะเล่นกับ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card และลำโพง แผ่น Video-CD
ได้แก่แผ่นที่สามารถ
เล่นภาพยนต์เรื่องยาว Concert หรือ Karaoke โดยปกติแผ่นประเภทนี้ ควรเล่นกับเครื่องเล่น Video-CD ซึ่งจะส่งสัญญาณภาพเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป
แต่หากจะเล่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card ลำโพง และซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านแผ่น Video-CD ได้ อนึ่ง Windows Media
Player ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows ก็สามารถอ่าน File ในแผ่น Video_CD ได้
แต่การเล่นจะไม่ค่อยสะดวกนัก
แผ่น MP3 ที่บรรจุเพลง MP3 ซึ่งมีการผลิตใช้กันในหมู่ญาติมิตร หรือเผยแพร่กันอย่าง
"ไม่เป็นทางการ" นั้น เป็นการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลเสียง MP3 File จึงมีขนาดเล็กกว่า WAV File ประมาณ 12 ถึง 14 เท่า การบีบอัดใช้หลักการตัดเสียงที่อยู่นอกพิสัยการได้ยินของมนุษย์
และเสียงที่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของเพลงถูกกลบด้วยเสียงอื่น การที่ File มีขนาดเล็กลงมากเช่นนี้ ทำให้สามารถบรรจุเพลงได้มากถึง 150 เพลงหรือมากกว่าในแผ่น CD เพียงแผ่นเดียว
แรกทีเดียวเพลงประเภทนี้สามารถฟังได้จากเรื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยใช้ซอฟต์แวร์เช่น
Winamp แต่ปัจจุบันเครื่องเล่นแผ่น Video-CD หรือแม้แต่เครื่องเสียงในรถยนต์บางรุ่น
ได้รวมความสามารถในการเล่น File MP3
ไว้ในตัวด้วย คุณสมบัติของ CD-ROM Drive ที่ต้องพิจารณาคือความเร็ว เมื่อ CD-ROM Drive ออกใหม่เคยมีความเร็ว Double-Speed หรือ 2x ต่อจากนั้นความเร็วก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนปัจจุบัน CD-ROM Drive ที่มีจำหน่ายทั่วไปมีความสูงสุดที่
60x การพิจารณาความเร็วของ CD-ROM Drive นั้น
ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ
ได้แก่
ความเร็วที่ระบุนั้นเป็นความเร็วสูงสุด ภายใต้สถาวะแวดล้อมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เอื้ออำนวยที่สุด
ซึ่งระหว่างอายุการใช้งานอาจไม่ได้บรรลุดวามเร็วดังกล่าวเลยก็ได้
เปรียบได้กับความเร็วของรถยนต์สูงสุดต่อชั่งโมงที่ปรากฏที่มาตรวัดความเร็วของรถ
(เช่น 240 กม.ต่อ ชั่วโมง) ซึ่งมีรถน้อยคันที่จะวิ่งได้เร็วเท่านี้ ความเร็วของ CD-ROM Drive นั้นให้ประโยชน์เฉพาะแผ่น CD-ROM ประเภทที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ และ
ประเภทสารานุกรมหรือบทเรียนเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการเล่น Audio-CD และ Video-CD ซึ่งใช้ความเร็วแค่
2x เท่านั้นเอง CD-Writer
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายบางรุ่นได้ติดตั้ง CD-Writer แทนที่จะติดตั้ง CD-ROM
Drive CD-Writer นี้มีลักษณะกายภาพภายนอกและคุณสมบัติเหมือน CD-ROM Drive ทุกประการ
แต่ผนวกความสามารถในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD รวมทั้งทำสำเนาแผ่น
CD ด้วย แผ่นที่จะนำมาเพื่อบันทึกหรือทำสำเนาจะต้องเป็นแผ่นที่เรียกว่า CD-R (บันทึกได้ครั้งเดียว
หากผิดพลาดแผ่นจะเสียหายเลย) หรือ แผ่น CD-RW (บันทึกและปันทึกซ้ำได้
โดยผู้ผลิตแผ่นประเภทนี้อ้างว่าจะบันทึกซ้ำได้ประมาณ 1,000 ครั้ง) คุณสมบัติที่ผู้ซื้อ CD-Writer ต้องพิจารณาคือความเร็ว
ซึ่งใช้วิธีการระบุเช่นเดียวกับ CD-ROM Drive แต่ในที่นี้จะเพิ่มตัวเลขจาก
1 เป็น 3 ตัว เช่น 20/10/40 หมายความว่า CD-Writer
ตัวนี้บันทึกแผ่น
CD-R สูงสุดที่ 20x บันทึกแผ่น CD-RW สูงสุดที่ 10x และอ่านแผ่นทุกประเภทสูงสุดที่
40x
วิธีการบำรุงรักษา CD Rom
1. ควรยึดเครื่องอ่านแผ่นซีดีให้มั่นคงกับโครงเครื่องและควรติดตั้งในแนวนอน
( แนวระนาบหรือ ขนานพื้น 180 องศา ) หรือ
แนวดิ่ง ( ตั้งฉากกับพื้น 90 องศา
สำหรับรุ่นที่ติดตั้งในแนวดิ่งได้ ) เท่านั้น
2. ตรวจสอบการต่อสายไฟสายสัญญานและสาย
Audio ให้เรียบร้อยมั่นคงและถูกต้องตามตำแหน่ง
3. หลีกเลี่ยงการนำแผ่นซีดีหรือDVD ที่ไม่สมบูรณ์มาใช้งานในเครื่องอ่านแผ่นซีดี
4. การนำแผ่นซีดีหรือ
DVD ใส่เข้าในเครื่องอ่านควรใส่ด้วยความระมัดระวังให้แผ่นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
เพื่อป้องกันการชำรุดของแผ่น เนื่องจากถูก ครูด หรือ บีบกด
จากถาดแผ่นซีดีเนื่องจากแผ่นที่ใส่นั้น เลื่อน หรือ เกย ออกจากตำแหน่งที่ถูกต้อง
5. ระมัดระวังการใช้แผ่นล้างหัวอ่าน/เขียน
ที่ไม่ได้คุณภาพเนื่องจากขนแปรงทำความสะอาดหัวอ่านไม่ได้คุณภาพ
ซึ่งมักจะทำให้เกิดรอยบนเลนส์ของหัวอ่าน หรือ
ละลายติดบนเลนส์ของหัวเขียนทำให้ชุดหัวอ่าน/เขียน ชำรุดถาวร
6. ไม่ควรปล่อยแผ่นซีดีหรือ
DVD ทิ้งไว้ในเครื่องอ่านโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะ
ในระหว่างการเคลื่อนย้ายเครื่องฯ
7. ไม่ควรนำวัสดุอื่นใด
ใส่เข้าไปในเครื่องอ่านแผ่นซีดี
8. ไม่ควรนำแผ่นซีดี
หรือ DVD ใส่เข้าไป เกิน 1 แผ่น
9. หากเครื่องอ่านซีดี
หรือ DVD ไม่สามารถเปิดออกได้โดยปกติ ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น