Mouse
การทำงานและหน้าที่ของเมาส์
เมาส์ (อังกฤษ: mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์
mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน
บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม
เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก
มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป
หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง
ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
การทำงานของเมาส์
ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง
(ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง)
โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์
การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์
ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ
DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า
PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย
จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา
และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นนมาโดยใช้สัญญาณวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า
Wireless mouse
เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง
และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูเมาส์และหางหนู
และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู
ลักษณะการทำงานของเมาส์
1: เมื่อเคลื่อนเมาส์
ลูกบอลด้านล่างจะหมุน
2: จานหมุนสองแนว
จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล
3: เมื่อจานหมุนทำการหมุน
รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม
4: แสงอินฟราเรด
ส่งผ่านรูจานหมุน
5: เซนเซอร์อ่านค่า
และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Y
การใช้งานเมาส์นั้นมีหลายรูปแบบนอกเหนือไปจากการเลื่อนเมาส์เพื่อเลื่อน
เคอร์เซอร์ เช่น การคลิก (การกดปุ่ม) คำว่าคลิกนั้นมีที่มาจากเสียงคลิกเวลาเรากดปุ่มเมาส์นั่นเอง
เสียงนี้เกิดขึ้นจาก micro switch (cherry switch) และใช้แถบโลหะที่แข็งแต่ยืดหยุ่นเป็นตัวกระตุ้นสวิทช์ เมื่อเรากดปุ่ม
แถบโลหะนี้ก็จะงอ และกระตุ้นให้สวิทช์ทำงานพร้อมทั้งเกิดเสียงคลิก
และช่วยให้ภายในไม่มีภาวะสุญญากาศเกิดขึ้น
นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าผู้ใช้จะตอบสนองกับเสียงคลิกหลังจากกด
มากกว่าความรู้สึกที่นิ้วกดลงไปบนปุ่ม
การคลิกครั้งเดียว (Single clicking)
เป็นการใช้งานที่ง่ายที่สุด
โดยหมายรวมทั้งการกดปุ่มบนเมาส์ชนิดปุ่มเดียวและชนิดหลายปุ่ม
โดยหากเป็นเมาส์ชนิดหลายปุ่ม จะเรียกการคลิกนี้ตามตำแหน่งของปุ่ม เช่น คลิกซ้าย, คลิกขวา
ดับเบิ้ลคลิก (Double-click)
เป็นการคลิกปุ่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ใช้ในการเปิดไฟล์ต่างๆ
ทริปเปิ้ลคลิก (Triple-click)
เป็นการคลิกปุ่ม 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ใช้มากที่สุดใน word
processors และใน web browsers เพื่อที่จะเลือกข้อความทั้งย่อหน้า
การคลิกแล้วลาก (Click-and-drag)
คือการกดปุ่มบน object ค้างไว้แล้วลากไปที่ที่ต้องการที่เรากำหนดไว้
Mouse gestures
Mouse gesture เป็นวิธีการผสมผสานการเลื่อนและการคลิกเมาส์
ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ได้จะต้องจดจำคำสั่งพิเศษต่างๆ เหล่านี้ได้
เช่นในโปรแกรมวาดภาพ การเลื่อนเมาส์ในแนวแกน X อย่างรวดเร็วบนรูปร่างใดๆ
จะเป็นการลบรูปร่างนั้น
Tactile mouse
ในปี 2000
Logitech ได้เปิดตัว tactile mouse ซึ่งมีชิ้นส่วนเล็ก
ๆ ที่ทำให้เมาส์สั่นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส
เช่นการสั่นเมื่อเคอร์เซอร์อยู่ที่ขอบของ window มีเมาส์
อีกชนิดหนึ่งสามารถถือไว้ในมือโดยไม่ต้องวางบนพื้นผิว
โดยสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ถึง 6 มิติ (3 มิติ + การหมุนของ 3 แกน = 6
มิติ) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับการนำเสนอทางธุรกิจ
เมื่อผู้พูดจะต้องยืนหรือเดินไปมา อย่างไรก็ตาม
เมาส์ชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้าง
ความเร็วของเมาส์
ความเร็วของเมาส์มีหน่วยเป็น DPI (Dots Per Inch) ซึ่งคือจำนวนพิกเซลที่เคอร์เซอร์จะเลื่อนได้เมื่อเลื่อนเมาส์ไป
1 นิ้ว (หรือบางทีก็เรียกว่า CPI (Count Per Inch) คือจำนวนครั้งที่เคอร์เซอร์จะเลื่อนได้เมื่อเลื่อนเมาส์ไป 1 นิ้ว) Mouse acceleration/deceleration เป็นทริกของซอฟต์แวร์ที่สามารถทำให้เมาส์เลื่อนช้ากว่าหรือเร็วกว่าความเร็ว
ปกติของมันได้ แต่มีอีกหน่วยนึงที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมคือหน่วย Mickey เพราะว่าค่า Mickey เกิดจากการนับ dot ที่เคอร์เซอร์เคลื่อนไปได้โดยคิดรวมถึง Mouse
acceleration/deceleration ด้วย ทำให้ค่า Mickey สำหรับการใช้งานแต่ละครั้งอาจจะไม่เท่ากัน จึงไม่ได้รับความนิยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น